รอยต่อชนิดต่างๆ ในโครงสร้าง
1. รอยต่อก่อสร้าง
(Construction joints) คือรอยต่อที่เกิดจากการเทคอนกรีตที่ไม่ต่อเนื่อง
ซึ่งตำแหน่งที่ถูกต้องเหมาะสมของรอยต่อก่อสร้างจะต้องระบุโดยผู้ออกแบบและ
ผู้รับจ้างและระบุอยู่ในแบบรูปเพื่อมั่นใจได้ว่ามีการถ่ายแรงที่ถูกต้องและ
มีความสวยงาม
2. รอยต่อเพื่อการหดตัว (Contraction or
control joints)
คือรอยต่อที่เกิดจากการกำหนดให้คอนกรีตเกิดการแตกร้าวในตำแหน่งที่ต้องการ
เนื่องจากการหดตัวของคอนกรีต
3. รอยต่อเพื่อการขยายตัว
(Expansion or isolation joints)
คือรอยต่อที่แยกชิ้นส่วนขององค์อาคารเพื่อการขยายหรือตัวหรือหดตัวโดยไม่มี
ผลกระทบกับความมั่งคงแข็งแรงขององค์อาคาร
4.
รอยต่อเชื่อมต่อ (Connection joints)
คือรอยต่อที่ระหว่างชิ้นส่วนโครงสร้างต่างชนิดกันทั้งวัสดุและหน้าที่รอยต่อ
ในข้อ 1 ถึง 3
จะเป็นรอยต่อที่เกิดจากวัสดุประเภทเดียวกันและทำหน้าที่ในโครงสร้างเหมือน
กัน
หน้าที่ของรอยต่อ
ตามคำจำกัดความของ National Joint and Cladding Federation (SNJF) กล่าวว่า รอยต่อคือ
a)
ส่วนที่เชื่อยต่อระหว่างชิ้นส่วนก่อสร้าง 2 ชิ้นส่วน โดยการใช้วัสดุยาแนว
(หรือกระบวนการฉีดอุด) เพื่อป้องกันน้ำ ของเหลว และ/หรือ
การแทรกซึมของแก๊ซหรือสารที่ไม่ต้องการให้เข้ามาหรือผ่านรอยต่อนั้น
b) ช่องว่างระหว่างชิ้นส่วนก่อสร้าง 2 ชิ้นส่วน ที่ไม่มีการอุดหรือปิด
ในบทความนี้จะถือว่าคำจะถือว่าคำจำกัดความ a)
เท่านั้นที่ครอบคลุมเนื้อหาที่จะกล่าวถึงทั้งหมดในบทความนี้ดังนั้นในการยา
แนวรอยต่อนั้นจะต้องมีการเลือกวัสดุยาแนวที่เหมาะสมสำหรับรอยต่อสำหรับรอย
ต่อนั้นๆ เพื่อที่จะป้องกันการผ่านของแก๊ส ของเหลว
หรือสารที่ไม่ต้องการผ่านเข้าไปในรอย เช่น
- ในอาคาร จะต้องยาแนวรอยต่อเพื่อป้องกันผู้อยู่อาศัยหรือสิ่งของอื่นๆ จากการพัดผ่านของลงและฝน
- ในถังเก็บน้ำ คลอง ท่อ และเขื่อน จะต้องยาแนวรอยต่อเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ
- ในพื้นโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องป้องกันรอยต่อต่อจากการที่มีน้ำหนักบรรทุกกระทำเนื่องจากล้อรถเข็นหรือรถโฟล์กลิฟท์ เป็นต้น
ไม่มีวัสดุยาแนวใดที่จะสามารถตอบสนองทุกความต้องการได้
ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการกำหนดรายละเอียดของรอยต่อก่อนดัง
นี้
• หน้าที่หลัก (Main function) ของรอยต่อนั้น
เป็นหน้าที่หลักของวัสดุยาแนวที่จะมีผลโดยตรงอายุของโครงการนั้นๆ
ซึ่งวัสดุยาแนวจะถูกเลือกใช้บนพื้นฐานของความทนทานเพื่อให้มั่นใจได้ว่าระ
ยเวลาการใช้งานของวัสดุยาแนวนั้นอย่างน้อยต้องมากกว่าระยะเวลาที่เจ้าของงาน
ต้องการ
• หน้าที่รอง (Secondary function) ของรอยต่อนั้น
โดยทั่วๆ ไปจะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งส่วนมากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสี
(ความสวยงาม)
หน้าที่ต่างๆ
ของรอยต่อจะเป็นผลมาจากการพัฒนาของเทคโนโลยี่ ความต้องการทางด้านอุตสาหกรรม
และความต้องการทางด้านสถาปัตยกรรม ซึ่งหน้าที่ทั่วๆ ไปของรอยต่อมีดังนี้
• หน้าที่อุดหรือปิด (Sealing function) เพื่อป้องกันอากาศ น้ำ เปลวไฟ แก๊ส สารละลายเคมีต่างๆ เป็นต้น
• หน้าที่ทนต่อสภาวะลมฟ้าอากาศ (Weatherproofing function) เพื่อป้องกันกรด ด่าง สารทำละลาย และผลิตภัณฑ์อินทรีย์ต่างๆ
• หน้าที่เป็นฉนวน (Insulation function) เพื่อป้องกันเสียง ความร้อน
• หน้าที่ความสวยงาม (Aesthetic function) เพื่อความสวยงามด้านสี และการตกแต่ง
ซึ่งหน้าที่ต่างๆ ดังกล่าวนี้จะเป็นหน้าที่หลัก หน้าที่รอง
และหน้าที่เสริม ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของโครงการนั้นๆ
โดยหน้าที่หลักทั่วๆ ไปของวัสดุยาแนวนั้นจะทำหน้าที่หลักคือ
การป้องการการซึมหรือผ่านของของเหลว (บางครั้งอยู่ภายใต้แรงดัน) ของแข็ง
แก๊ส เพื่อป้องกันคอนกรีตจากความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้
ส่วนหน้าที่รองทั่วๆ ไปนั้นคือ วัสดุยาแนวจะทำหน้าที่กันเสียว ความร้อน
หรือป้องกันรอยต่อจากการสะสมของสารที่ไม่ต้องการ เป็นต้น
Saturday, April 13, 2013
Friday, April 12, 2013
Concrete Joint
โดยปกติคอนกรีตจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านรูปร่างบ้างจากผลการของการที่ต้องสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมหรือจากน้ำหนักบรรทุกที่กระทำ ซึ่งทำให้คอนกรีตเกิดการหดตัวอย่างถาวร เช่นการหดตัวของคอนกรีตจากการสูญเสียน้ำ การหดตัวแบบแห้ง การคืบ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลการกระทำอื่ินๆ ที่เกิดขึ้น เป็นวงจรในขณะที่มีการใช้งานโครงสร้าง เช่น การเปลี่ยนแปลงความชื้น อุณหภูมิ หรือน้ำหนักบรรทุกใช้งานเป็นต้น ซึ่งมีผลต่อการหดตัวขยายตัวอย่างเป็นวงจร และยังมีโอกาสการที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงปริมาตรอย่างผิดปรกติ เช่นการขยายตัวของคอนกรีตเนื่องจากซัลเฟต ปฏิกิริยาของด่างกับมวลรวมเป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ทำให้โครงสร้างเกิดการเคลื่อนไหว ทั้งแบบชั่วคราวและแบบถาวร ซึ่งการเคลื่อนไหวถ้าเกิดอย่างรุนแรง เช่นมีการหดตัวอย่างมากอาจจะทำให้คอนกรีตเกิดการแตกร้าวได้ ทำนองเดียวกันถ้าคอนกรีตมีการขยายตัวมากเกินไปก็อาจจะทำให้คอนกรีตเกิดการบิดเสียรูป แตกร้าวหรือบดแตกได้ ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ในช่วงของการออกแบบโครงสร้าง ซึ่งหนึ่งในวิธีการดังกล่าวคือ การสร้างรอยต่อ (Joints) ให้กับโครงสร้างในตำแหน่งที่เหมาะสมที่ไม่ทำให้ความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างเสียไป นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่นๆ ในการที่จะสร้างรอยต่อในโครงสร้างคอนกรีต เช่น โครงสร้างคอนกรีตอาคารจะมีหน้าที่รองรับ Curtainwalls, Cladding ประตู หน้าต่าง และชิ้นส่วนประกอบอื่นๆ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีรอยต่อระหว่างชิ้นส่วนต่างๆ เหล่านี้เพื่อลดหน่วยแรงที่จะกระทำกับคอนกรีตอันเนื่องมาจากการขยายตัว หดตัว และการเสียรูปของชิ้นส่วนเหล่านี้
นอกจากนี้รอยต่อที่เกิดขึ้นก็อาจจะเนื่องมาจากความต้องการที่จะให้การก่อสร้างทำได้ง่ายขึ้นโดยที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในด้านโครงสร้างเลย
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ทำให้โครงสร้างเกิดการเคลื่อนไหว ทั้งแบบชั่วคราวและแบบถาวร ซึ่งการเคลื่อนไหวถ้าเกิดอย่างรุนแรง เช่นมีการหดตัวอย่างมากอาจจะทำให้คอนกรีตเกิดการแตกร้าวได้ ทำนองเดียวกันถ้าคอนกรีตมีการขยายตัวมากเกินไปก็อาจจะทำให้คอนกรีตเกิดการบิดเสียรูป แตกร้าวหรือบดแตกได้ ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ในช่วงของการออกแบบโครงสร้าง ซึ่งหนึ่งในวิธีการดังกล่าวคือ การสร้างรอยต่อ (Joints) ให้กับโครงสร้างในตำแหน่งที่เหมาะสมที่ไม่ทำให้ความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างเสียไป นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่นๆ ในการที่จะสร้างรอยต่อในโครงสร้างคอนกรีต เช่น โครงสร้างคอนกรีตอาคารจะมีหน้าที่รองรับ Curtainwalls, Cladding ประตู หน้าต่าง และชิ้นส่วนประกอบอื่นๆ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีรอยต่อระหว่างชิ้นส่วนต่างๆ เหล่านี้เพื่อลดหน่วยแรงที่จะกระทำกับคอนกรีตอันเนื่องมาจากการขยายตัว หดตัว และการเสียรูปของชิ้นส่วนเหล่านี้
นอกจากนี้รอยต่อที่เกิดขึ้นก็อาจจะเนื่องมาจากความต้องการที่จะให้การก่อสร้างทำได้ง่ายขึ้นโดยที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในด้านโครงสร้างเลย
Subscribe to:
Posts (Atom)