รอยต่อชนิดต่างๆ ในโครงสร้าง
1. รอยต่อก่อสร้าง
(Construction joints) คือรอยต่อที่เกิดจากการเทคอนกรีตที่ไม่ต่อเนื่อง
ซึ่งตำแหน่งที่ถูกต้องเหมาะสมของรอยต่อก่อสร้างจะต้องระบุโดยผู้ออกแบบและ
ผู้รับจ้างและระบุอยู่ในแบบรูปเพื่อมั่นใจได้ว่ามีการถ่ายแรงที่ถูกต้องและ
มีความสวยงาม
2. รอยต่อเพื่อการหดตัว (Contraction or
control joints)
คือรอยต่อที่เกิดจากการกำหนดให้คอนกรีตเกิดการแตกร้าวในตำแหน่งที่ต้องการ
เนื่องจากการหดตัวของคอนกรีต
3. รอยต่อเพื่อการขยายตัว
(Expansion or isolation joints)
คือรอยต่อที่แยกชิ้นส่วนขององค์อาคารเพื่อการขยายหรือตัวหรือหดตัวโดยไม่มี
ผลกระทบกับความมั่งคงแข็งแรงขององค์อาคาร
4.
รอยต่อเชื่อมต่อ (Connection joints)
คือรอยต่อที่ระหว่างชิ้นส่วนโครงสร้างต่างชนิดกันทั้งวัสดุและหน้าที่รอยต่อ
ในข้อ 1 ถึง 3
จะเป็นรอยต่อที่เกิดจากวัสดุประเภทเดียวกันและทำหน้าที่ในโครงสร้างเหมือน
กัน
หน้าที่ของรอยต่อ
ตามคำจำกัดความของ National Joint and Cladding Federation (SNJF) กล่าวว่า รอยต่อคือ
a)
ส่วนที่เชื่อยต่อระหว่างชิ้นส่วนก่อสร้าง 2 ชิ้นส่วน โดยการใช้วัสดุยาแนว
(หรือกระบวนการฉีดอุด) เพื่อป้องกันน้ำ ของเหลว และ/หรือ
การแทรกซึมของแก๊ซหรือสารที่ไม่ต้องการให้เข้ามาหรือผ่านรอยต่อนั้น
b) ช่องว่างระหว่างชิ้นส่วนก่อสร้าง 2 ชิ้นส่วน ที่ไม่มีการอุดหรือปิด
ในบทความนี้จะถือว่าคำจะถือว่าคำจำกัดความ a)
เท่านั้นที่ครอบคลุมเนื้อหาที่จะกล่าวถึงทั้งหมดในบทความนี้ดังนั้นในการยา
แนวรอยต่อนั้นจะต้องมีการเลือกวัสดุยาแนวที่เหมาะสมสำหรับรอยต่อสำหรับรอย
ต่อนั้นๆ เพื่อที่จะป้องกันการผ่านของแก๊ส ของเหลว
หรือสารที่ไม่ต้องการผ่านเข้าไปในรอย เช่น
- ในอาคาร จะต้องยาแนวรอยต่อเพื่อป้องกันผู้อยู่อาศัยหรือสิ่งของอื่นๆ จากการพัดผ่านของลงและฝน
- ในถังเก็บน้ำ คลอง ท่อ และเขื่อน จะต้องยาแนวรอยต่อเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ
- ในพื้นโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องป้องกันรอยต่อต่อจากการที่มีน้ำหนักบรรทุกกระทำเนื่องจากล้อรถเข็นหรือรถโฟล์กลิฟท์ เป็นต้น
ไม่มีวัสดุยาแนวใดที่จะสามารถตอบสนองทุกความต้องการได้
ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการกำหนดรายละเอียดของรอยต่อก่อนดัง
นี้
• หน้าที่หลัก (Main function) ของรอยต่อนั้น
เป็นหน้าที่หลักของวัสดุยาแนวที่จะมีผลโดยตรงอายุของโครงการนั้นๆ
ซึ่งวัสดุยาแนวจะถูกเลือกใช้บนพื้นฐานของความทนทานเพื่อให้มั่นใจได้ว่าระ
ยเวลาการใช้งานของวัสดุยาแนวนั้นอย่างน้อยต้องมากกว่าระยะเวลาที่เจ้าของงาน
ต้องการ
• หน้าที่รอง (Secondary function) ของรอยต่อนั้น
โดยทั่วๆ ไปจะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งส่วนมากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสี
(ความสวยงาม)
หน้าที่ต่างๆ
ของรอยต่อจะเป็นผลมาจากการพัฒนาของเทคโนโลยี่ ความต้องการทางด้านอุตสาหกรรม
และความต้องการทางด้านสถาปัตยกรรม ซึ่งหน้าที่ทั่วๆ ไปของรอยต่อมีดังนี้
• หน้าที่อุดหรือปิด (Sealing function) เพื่อป้องกันอากาศ น้ำ เปลวไฟ แก๊ส สารละลายเคมีต่างๆ เป็นต้น
• หน้าที่ทนต่อสภาวะลมฟ้าอากาศ (Weatherproofing function) เพื่อป้องกันกรด ด่าง สารทำละลาย และผลิตภัณฑ์อินทรีย์ต่างๆ
• หน้าที่เป็นฉนวน (Insulation function) เพื่อป้องกันเสียง ความร้อน
• หน้าที่ความสวยงาม (Aesthetic function) เพื่อความสวยงามด้านสี และการตกแต่ง
ซึ่งหน้าที่ต่างๆ ดังกล่าวนี้จะเป็นหน้าที่หลัก หน้าที่รอง
และหน้าที่เสริม ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของโครงการนั้นๆ
โดยหน้าที่หลักทั่วๆ ไปของวัสดุยาแนวนั้นจะทำหน้าที่หลักคือ
การป้องการการซึมหรือผ่านของของเหลว (บางครั้งอยู่ภายใต้แรงดัน) ของแข็ง
แก๊ส เพื่อป้องกันคอนกรีตจากความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้
ส่วนหน้าที่รองทั่วๆ ไปนั้นคือ วัสดุยาแนวจะทำหน้าที่กันเสียว ความร้อน
หรือป้องกันรอยต่อจากการสะสมของสารที่ไม่ต้องการ เป็นต้น
No comments:
Post a Comment